หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับผู้บริหารโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับผู้บริหารโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)
วันที่เผยแพร่ 30 พ.ย. 2563
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับผู้บริหารโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)

               เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดย คุณกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการ พร้อมด้วย คุณวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการ ดร.กฤษณะ วจีไกรลาศ กรรมการเลขาธิการ และคุณเฉลิม เยี่ยงศุภพานนทร์ ผู้อำนวยการบริหาร ให้การต้อนรับผู้บริหารโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ประกอบด้วย คุณกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการ IOD และเลขานุการ CAC และคุณพนา รัตนบรรณางกูร ผู้อำนวยการ CAC ณ ห้องประชุม 3305 อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ หอการค้าไทย

               โดย CAC เป็นความคิดริเริ่มของภาคเอกชนไทยในการเข้ามีส่วนร่วม กับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน โดยผ่านการรวมตัวกันแบบ Collective Action โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต 
เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการจัดทำโดยรัฐบาลและสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย คุณดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และคุณชาญชัย จารุวัสตร์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย โครงการนี้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2553 โดยมีองค์กรชั้นนำร่วมก่อตั้ง 8 องค์กร ได้แก่
1. หอการค้าไทย
2. หอการค้านานาชาติ
3. สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
4. สมาคมธนาคารไทย
5. สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
6. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
7. สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
8. สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย : ซึ่งรับหน้าที่เป็นเลขานุการโครงการ CAC และรับบทนำในการขับเคลื่อนโครงการ

ซึ่งการเข้าพบในครั้งนี้ ได้หารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) อาทิ
1. รายงานรายละเอียดความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ CAC
2. พันธกิจของ CAC ในปี 2564 และบทบาทขององค์กรก่อตั้ง
3. ความคาดหวังของหอการค้าไทยต่อโครงการ CAC

               ทั้งนี้ หอการค้าไทย CAC และพันธมิตรในประเทศของ CAC เช่น องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) (ACT) , HAND Enterprise , สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำงานอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงปัญหา ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และร่วมผนึกกำลังต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย